การมีผู้ที่ชอบความเสี่ยงอยู่ในองค์กร
10 กรกฎาคม 2567 - เวลาอ่าน 1 นาทีมีข้อดี ข้อเสีย และด้านสีเทาอย่างไร
คุณไม่สามารถประสบความสำเร็จได้หากไม่กล้าเสี่ยงที่จะผิดพลาด
Charlie Day
คุณไม่สามารถมีสิทธิมีเสียงได้หากคุณไม่เสี่ยงที่จะถูกวิจารณ์
คุณไม่สามารถรักใครได้หากไม่เสี่ยงที่จะสูญเสีย
คุณต้องก้าวออกไปและยอมรับความเสี่ยงเหล่านั้น
นี่คือคำกล่าวสุนทรพจน์ของ Charlie Day นักแสดงชาวอเมริกันที่ได้กล่าวไว้ ณ พิธีมอบปริญญาบัตรให้กับบัณฑิตจบใหม่ที่ Merrimack College เมื่อปีค.ศ. 2014 เป็นข้อความที่เรียกได้ว่าตรงข้ามกับบุคลากรใน “อุดมคติ” ตามวิธีคิดแบบดั้งเดิมคือจะต้องทำตามกฎ ทำอะไรโดยเสี่ยงน้อยที่สุด และทำตามที่บอกให้ทำ ด้วยความคิดเช่นนี้จึงทำให้บุคลากรที่กล้ายอมรับความเสี่ยงได้รับการมองว่าเป็นจุดบกพร่องแทนที่จะเป็นทรัพยากรที่มีค่าให้กับองค์กรขององค์กร ความผิดพลาดระดับหายนะในภาคธุรกิจจำนวนหลายครั้ง อย่างเช่น วิกฤติทางการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปีค.ศ. 2008 หรือเหตุการณ์อื้อฉาวด้านการบัญชีของบริษัทด้านพลัง Enron ในปีค.ศ. 2001 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเสี่ยงอย่างไม่คิดหน้าคิดหลังของนายธนาคาร ผู้นำ และบุคลากร
ในทางตรงข้ามกับแนวคิดแบบเดิม ผู้ที่ศึกษาด้านองค์กรมองเห็นถึงข้อดีและข้อเสียในการทำงาน ซึ่งมีหนังสือจำนวนหนึ่งที่เขียนถึงมูลค่าของการยอมรับความเสี่ยงโดยการแหกกฎและสนับสนุนให้เกิดความเปลี่ยนแปลง อย่างคำกล่าวข้างต้นผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงคือปัจจัยสำคัญของการเกิดนวัตกรรม ความกล้า และการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในสังคม ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหรือความหายนะในองค์กรนั้นสามารถเป็นผลมาจากผู้ที่ยอมรับความเสี่ยง แท้จริงแล้วความกระหายในความเสี่ยงนั้นไม่ใช่คุณสมบัติด้านดีหรือด้านเสียของบุคคลคนหนึ่ง ในบริบทความการทำงานจึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นความสามารถภายในบุคคลที่ทำให้บุคลากรยอมรับความเสี่ยงในการทำงานเพื่อให้ดีขึ้นหรือแย่ลง แต่เป็นคุณสมบัติของบุคคลที่แตกต่างกัน ความกล้าเสี่ยงก็อาจทำให้เกิดเรื่องที่ดีมากๆ หรือเรื่องที่แย่มากๆ ได้
งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยสามท่าน ได้แก่ Don C. Zhang, Clare L. Barratt, และ Rachel Williamson Smith จากประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปีค.ศ.2024 ได้ตั้งสมมติฐานไ้ว้ว่าลักษณะนิสัยที่กล้าเสี่ยง (Risk propensity) จะนำไปสู่ความตั้งใจที่จะยอมรับความเสี่ยงในที่ทำงาน (Willingness to take risks at work) และนำไปสู่พฤติกรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานอีกทอดหนึ่ง และทั้งนี้ยังตั้งสมมติฐานด้วยว่าการรับรู้ความเสี่ยง (Risk propensity) ยังกำกับระดับความสัมพันธ์ของสองตัวแปรหลัง
นักวิจัยทั้งสามได้แบ่งพฤติกรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน แบ่งออกเป็นสามประเภทตามผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้นต่อองค์กร 1) พฤติกรรมความเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (Organizational citizenship behaviors) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อองค์กร 2) พฤติกรรมถ่วงความก้าวหน้า (Counterproductive workplace behaviors) ซึ่งนับว่าเป็นยพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อองค์กร และ 3) พฤติกรรมแหกกฎเพื่อคนอื่น (Prosocial rule breaking behaviors) ซึ่งอาจส่งผลดีและผลเสียต่อองค์กรก็ได้จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นพฤติกรรมด้านเทา
ผลการวิจัยพบว่า
1. บุคลากรที่กล้าเสี่ยงมีแนวโน้มที่จะลงมือทำพฤติกรรมด้านลบในองค์กร อย่างเช่น พฤติกรรมถ่วงความก้าวหน้าขององค์กร หรือพฤติกรรมสีเทา เช่น การแหกกฎเพื่อคนอื่น
2. ในบุคคลที่มีบุคลิกภาพกล้าเสี่ยง และมีความตั้งใจที่จะยอมรับความเสี่ยงในที่ทำงานระดับสูง จะมีแนวโน้ม เป็นตัวกลางที่ทำให้บุคลากรที่กล้าเสี่ยงอยู่แล้วมีพฤติกรรมความเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและการแหกกฎเพื่อคนอื่นมากขึ้น
3. ในบุคคลที่กล้าเสี่ยง ยิ่งรู้ว่าเสี่ยงมาก ก็จะยิ่งทำพฤติกรรมเสี่ยง แต่ในบุคคลที่ไม่กล้าเสี่ยง ยิ่งเห็นว่าพฤติกรรมหนึ่งเสี่ยง จะยิ่งไม่กล้าทำพฤติกรรมดังกล่าว การรับรู้ว่าความเสี่ยงของพฤติกรรมการทำงานรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้ที่มีความกล้าเสี่ยงอยู่แล้วมีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมเหล่านั้นมากขึ้น แต่สำหรับผู้ที่มีไม่กล้าเสี่ยงมีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมเหล่านั้นน้อยลง
โดยสรุปแล้วการวิจัยเป็นการตอบคำถามผู้ประกอบการบุคลากรที่ชอบความเสี่ยงนั้นเป็นทรัพยากรที่มีค่าหรือเป็นจุดบกพร่องขององค์กร และควรที่จะจ้างบุคลากรที่ชอบความเสี่ยงหรือไม่ ผู้วิจัยได้กล่าวว่าการจ้างบุคลากรที่ชอบความเสี่ยงยังนับว่าเป็นความเสี่ยงสำหรับองค์กร เพราะว่าถึงแม้บุคลากรเหล่านี้จะเป็นผู้ขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือเกิดนวัตกรรมใหม่ แต่บุคลากรเหล่านี้ยังมีแนวโน้มที่จะยอมรับความเสี่ยงที่ผิดศีลธรรมหรือการถ่วงความก้าวหน้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรที่จะมีการตั้งขอบเขตตามสถานการณ์ที่ช่วยให้เกิดผลลัพธ์ทางบวก และลดผลจากข้อบกพร่องของการยอมรับความเสี่ยงลง และยังเป็นไปได้เช่นกันว่าการยอมรับความเสี่ยงยังสามารถที่จะไปสู่สิ่งที่ดีภายใต้การบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
บทความต้นฉบับ
Zhang, D. C., Barratt, C. L., & Smith, R. W. (2024). The bright, dark, and gray sides of risk takers at work: criterion validity of risk propensity for contextual work performance. Journal of Business and Psychology, 39(2), 275-294.