การทำงานโดยไม่พักเบรกไม่ได้ส่งผลดีต่อผลการปฏิบัติงาน
28 สิงหาคม 2566 - เวลาอ่าน 1 นาทีโดยทั่วไปหากบุคลากรในบริษัทเลือกที่จะไม่พักเบรกระหว่างการทำงานย่อมทำให้เกิดการสะสมของความเหนื่อยล้าและท้ายที่สุดยังสงผลต่อผลการปฏิบบัติงานที่แย่ลง ในขณะที่บางบุคคลเลือกที่จะไม่พักเบรกโดยที่มีสาเหตอะไรบางอย่าง บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นวิธีการในการตัดสินใจว่าบุคลากรหนึ่งเลือกที่จะพักเบรกหรือไม่
นักวิจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์สองท่านชื่อว่า Phan และ Beck ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการตัดสินใจพักหรือไม่พักเบรกไว้ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2566 พบว่าปริมาณงานที่ต้องทำเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บุคลากรสองบุคคลตัดสินใจแตกต่างกัน
เมื่อบุคลากรคนที่หนึ่งเห็นว่ามีปริมาณงานมากนำไปสู่ความเหนื่อยล้าส่งผลต่ออารมณ์และผลการปฏิบัติงานที่ไม่ดี บุคลากรคนนั้นจึงตัดสินใจที่จะพักเบรกจากงานโดยการพาตัวเองออกจากงานตรงหน้า
ในอีกมุมหนึ่งบุคลากรคนที่สองมองเห็นปริมาณงานและคาดการณ์ว่างานอาจไม่เสร็จทันจึงตัดสินใจที่จะไม่พักเบรก
ความแตกต่างนี้จึงนำไปสู่การการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์รายบุคคลจากบุคลากรทั้งสองกลุ่ม โดยบุคลากรกลุ่มแรกระบุว่าสาเหตุที่ตัดสินใจพักเบรกเพราะความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ความเครียด อารมณ์ที่ไม่ดีอันมาจากการทำงาน และเห็นว่าผลการปฏิบัติงานแย่ลง รวมไปถึงการสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางกาย อย่างเช่น ตาล้า หรือ เวียนหัว จึงเข้าใจได้ว่าร่างกายต้องการพัก
บุคลากรอีกกลุ่มหนึ่งเลือกที่จะทำงานไม่พักเบรกและทำงานให้เสร็จนั้นให้เหตุผลว่ามีสาเหตุมาจากเมื่อได้เห็นถึงปริมาณงานจึงนำไปสู่ความต้องการของตนเองที่จะทำงานให้เสร็จในครั้งเดียวถึงแม้ว่าจะเหนื่อยมากแค่ไหนก็ตาม แต่ยังทิ้งท้ายไว้ด้วยว่าตัวบุคลากรเองยังยอมรับได้หากผลการปฏิบัติงานอาจไม่ได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับการทำงานขณะที่ยังไม่เหนื่อยและอาจส่งผลเสียต่อบุคลากรในภายหลัง
ข้อสรุปสำหรับผู้นำองค์กรและผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ต้องการที่จะนำความเข้าใจในเรื่องการพักเบรกของบุคลากรไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ ควรที่จะมีการสนับสนุนให้บุคลากรพักเบรกแบบสั้น ในปริมาณที่กำลังพอดี เพื่อความสมดุลระหว่างความเหนื่อยล้าที่ไม่มากจนเกินไปและผลการปฎิบัติงานที่ยังอยู่ในเกณ์ที่ไม่ต่ำไปกว่าเกณฑ์ นอกจากนี้ยังควรที่จะลดภาระงานที่ไม่จำเป็นที่ส่งผลให้พนักงานประสบกับปริมาณงานที่มากเกินไป