ในเทศกาลฮาโลวีน การ Trick or Treat โดยที่คนให้ไม่รู้ว่าใครเป็นใครทำให้เด็กกล้าทำเรื่องไม่ดีมากขึ้น
31 ตุลาคม 2566 - เวลาอ่าน 2 นาทีในช่วงเทศกาลฮาโลวีนในหลายประเทศทางตะวันตกจะมีการให้เด็ก ๆ ได้เล่น ทริคออร์ทรีต (Trick or treat) โดยการแต่งตัวแฟนตาซีจากนั้นจึงออกไปเดินขอขนมจากระแวกบ้านของตน ด้วยความสนุกสนานและรื่นเริงของเทศกาลนักจิตวิทยาก็ยังสามารถที่จะศึกษาวิจัยโดยที่จะทำให้ได้งานวิจัยมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น
Ed Diener นักจิตวิทยาผู้โด่งดังจากการศึกษาเรื่องความสุขและเพื่อนร่วมงานได้ใช้โอกาสแห่งความรื่นเริงในของงานเทศกาลในการศึกษาพฤติกรรมการของเด็ก ๆ ระหว่างการทริคออร์ทรีตว่าจะแอบหยิบลูกกวาดมากขึ้นหรือไม่หากแต่งคอสตูมให้คนอื่นไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร
งานวิจัยดำเนินขึ้นที่รัฐ Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกาประมาณ เมื่อปีพ.ศ. 2519 ทีมนักวิจัยได้จัดงานฮาโลวีนแจกขนมและลูกกวาดใน 27 บ้านรอบ ๆ เมืองแห่งหนึ่ง แต่ละบ้านจะมีทีมงานของผู้วิจัยสองคน คนแรกทำหน้าที่พูดคุยและแจกขนมให้กับเด็ก ๆ และอีกคนจะคอยสังเกตระหว่างเด็กหยิบลูกกวาดและเหรียญเงิน
กระบวนการเริ่มต้นเมื่อเด็ก ๆ เดินเข้ามาที่หน้าบ้านทีมงานจะพูดต้อนรับและพูดชมชุดคอสตูมของเด็ก แล้วจากนั้นจึงบอกกับเด็ก ๆ ว่าสามารถหยิบขนมได้คนละหนึ่งชิ้นจากนั้นจึงบอกว่ามีเหตุจำเป็นต้องไปทำงานอีกห้องหนึ่ง และเดินออกไปจนพ้นสายตาของเด็ก
เด็กที่มาทริคออร์ทรีตจะมีหลายรูปแบบโดยไม่ได้เกี่ยวกับคอสตูมที่แต่ง ดังนี้
เด็กที่สามารถระบุตัวตนได้หรือระบุตัวตนไม่ได้ ทีมงานแจกลูกกวาดรู้ว่าเด็กรู้ว่าเด็กชื่ออะไร อาศัยอยู่ระแวกไหน เมืองไหน จากการเลือกที่จะถามหรือไม่ถาม ในกรณีที่ทีมงานไม่ถามเด็กกลุ่มนี้จะระบุตัวตนได้ยาก หรือเรียกว่ามีความเป็นนิรนาม (Anonimity)
เด็กมาคนเดียวหรือมาเป็นกลุ่ม โดยที่ทีมงานจะถามหรือไม่ถามชื่อและระแวกที่อยู่กับเด็กแต่ละคน เด็กที่มารับลูกกวาดจึงสามารถแบ่งเป็นออกเป็น 4 กลุ่มอย่างง่าย ๆ คือ มาคนเดียวและไม่รู้ว่าเป็นใคร มาคนเดียวและรู้ว่าเป็นใคร มาเป็นกลุ่มและรู้ว่าเป็นใคร และสุดท้ายมาเป็นกลุ่มแต่ไม่รู้ว่าเป็นใครเลย
และในกรณีที่เด็กมากันเป็นกลุ่มทีมงานจะแยกออกเป็น 2 สถานการณ์ สถานการณ์แรกทีมงานจะไม่ถามอะไรหลังจากหยิบลูกกวาดไปแล้ว กับอีกกรณีหนึ่งทีมงานจะถามเพิ่มเติมว่าใครเป็นคนที่หยิบลูกอมเกินไป โดยแบ่งออกเป็นอีก 3 สถานการณ์ย่อย แบบแรกทีมงานจะถามข้อมูลเฉพาะเด็กคนที่ดูอายุน้อยที่สุดให้รับผิดชอบเรื่องลูกกวาดที่หายไปแต่ไม่ถามชื่อ แบบที่สองทีมงานจะถามชื่อของเด็กที่ตัวเล็กที่สุด และแบบสุดท้ายถามชื่อทุกคน
ในตอนท้ายทีมงานนับว่ามีเด็กกี่เปอร์เซ็นที่หยิบลูกกวาดเกิน 1 ชิ้นหรือทำการหยิบเงินออกจากโถโดยนับว่าเป็นพฤติกรรมการลักเล็กขโมยน้อย ผลการทดลองแบ่งออกตามกลุ่มต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- มาคนเดียวและไม่รู้ว่าเป็นใคร 21.4%
- มาคนเดียวและรู้ว่าเป็นใคร 7.5%
- มาเป็นกลุ่มแต่ไม่รู้ว่าเป็นใครเลย 57.2%
- มาเป็นกลุ่มและรู้ว่าเป็นใคร 20.8%
ในเงื่อนไขสุดท้ายแบ่งได้ดังต่อไปนี้
- มาเป็นกลุ่มแต่ไม่รู้ว่าเป็นใครเลย และถามหาผู้รับผิดชอบ 80%
- มาเป็นกลุ่มรู้ว่าเป็นใครอยู่หนึ่งคน และถามหาผู้รับผิดชอบ 27.3%
- มาเป็นกลุ่มและรู้ว่าเป็นใครทั้งหมด และถามหาผู้รับผิดชอบ 10.5%
ผลการทดลองสังเกตได้ว่า
- ถ้าหากเด็กอยู่คนเดียวจะมีโอกาสลักเล็กขโมยน้อยต่ำกว่าเมื่อมาเป็นกลุ่ม
- อีกกรณีที่ระบุตัวตนเด็กไม่ได้หรือไม่รู้จักข้อมูลจะมีโอกาสลักเล็กขโมยน้อยสูงกว่าเด็กระบุตัวตนได้
- ถ้าหากถามหาผู้รับผิดชอบโดยที่สามารถระบุตัวตนของผู้รับผิดชอบได้โอกาสลักเล็กขโมยน้อยจะต่ำลง
- แต่ถ้าหากถามหาความรับผิดชอบ แล้วระบุชื่อผู้รับผิดชอบโดยตรงไม่ได้ด้วย ยิ่งมีโอกาสลักเล็กขโมยน้อยสูง
นอกจากนี้ ยังพบพฤติกรรมกลุ่มด้วยว่า
- ถ้าเด็กคนแรกในกลุ่มลักเล็กขโมยน้อยมีโอกาสที่เด็กคนที่เหลือจะลักเล็กขโมยน้อยตามมีถึง 75%
- แต่หากเด็กคนแรกในกลุ่มไม่ลักเล็กขโมยน้อยมีโอกาสที่เด็กคนที่เหลือจะลักเล็กขโมยน้อยเหลือเพียง 10% เท่านั้น
ผลการทดลองในวันฮาโลวีนแสดงให้เห็นว่าการทำให้ระบุตัวตนยากไม่ว่าจะเป็นการไม่ทราบข้อมูล การอยู่ในกลุ่มคน หรือการถามหาความรับผิดชอบจากคนที่ระบุตัวตนไม่ได้จำนวนมากจะส่งผลให้บุคคลทำพฤติกรรมลักเล็กขโมยน้อยสูงขึ้น ในทางตรงกันข้ามการระบุถามหาผู้รับผิดชอบจากกลุ่มคนที่สามารถระบุตัวตนได้ทำให้มีพฤติกรรมลักเล็กขโมยน้อยที่ต่ำลง
นอกจากการนำผลการวิจัยไปใช้ในเด็กแล้วยังสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างชัดเจน เช่น การลดพฤติกรรมผิดกฎจราจรต้องใช้วิธีการที่ทำให้สามารถระบุตัวตนได้ ด้วยป้ายทะเบียนรถที่เห็นได้ชัดเจน ระบุชื่อผู้ขับได้