การไหว้พระขอพรช่วงปีใหม่
20 ธันวาคม 2566 - เวลาอ่าน 1 นาทีมาสำรวจกันว่าอะไรเป็นสาเหตุที่คนสวดมนต์ขอพร
วันปีใหม่กำลังใกล้เข้ามาชาวไทยหลายคนจำนวนไม่น้อยที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความเป็นสิริมงคลในชีวิตจะเดินทางไปขอพรไม่ว่าจะเรื่องการงาน สุขภาพ หรือความรักจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั้งในทางศาสนา อย่างเช่น การไหว้พระ 9 วัด และความเชื่อทางจิตวิญญาณหรือการมูเตลู ในบทความนี้จะนำเสนอถึงสาเหตุที่ผู้คนขอพร
โดยทั่วไปผู้คนอาจมองว่าการขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นเรื่องเฉพาะของผู้ที่นับถือศาสนาเท่านั้น แต่ในอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจยังพบได้ว่ากลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่ระบุตัวตนว่าไม่นับถือศาสนาก็ยังมีการขอพรด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างการสำรวจในประเทศสหราชอาณาจักรเมื่อปีพ.ศ. 2560 พบว่าประชากรที่ระบุตัวตนว่าไม่นับถือศาสนาถึงร้อยละ 40 ภาวนาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นในชีวิต จากผลสำรวจจึงทำพอจะบอกได้ว่าการคนที่ขอพรอาจจะไม่ต้องนับถือศาสนาก็ได้
จากตัวเลขที่แสดงออกให้เห็นถึงความไม่น่าจะไปด้วยกันได้ระหว่างเหตุผลทางศาสนากับการขอพรเพื่อจึงนำมาสู่ข้อสงสัยที่ว่าแล้วสาเหตุใดจึงทำให้ผู้คนเลือกที่จะไหว้พระขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สาเหตุอาจมาจาก 2 ปัจจัยดังนี้
ปัจจัยแรกเป็นเรื่องความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ เพราะว่าผู้คนจะนวนไม่น้อยที่เชื่อว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ส่งผลต่อชีวิตโดยตนเองนั้นไม่สามารถที่จะกำหนดหรือควบคุมได้ และสิ่งเหล่านั้นยังไม่สามารถอธิบายได้ด้วยความเชื่อทางศาสนา นอกจากนี้ผู้ไม่นับถือศาสนายังมองว่าการนับถือศาสนาและการทำกิจกรรมทางศาสนาเป็นเรื่องของการลงทุนแรงกายแรงใจเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ขอไป ในขณะที่การขอพรหรือบนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์กลับไม่ต้องลงแรงกายแรงใจมากนัก ผู้คนจึงเลือกทางที่ง่ายกว่า
อีกหนึ่งปัจจัยคือการหาที่พึ่งทางจิตใจหรือเรียกว่าเป็น emotional support เมื่อวิกฤติเกิดขึ้นในชีวิตบางครั้งผู้คนยังไม่สามารถหาทางออกให้กับชีวิตของตนเองได้ การพรหรือวิงวอนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยอาจไม่ใช่เพื่อแก้ปัญหาโดยตรงแต่เพื่อให้อารมณ์สงบลง งานวิจัยทางจิตวิทยาหนึ่งโดย McCulloch และ Parks-Stamm ทดลองให้คนกลุ่มหนึ่งคิดถึงปัญหาและหาทางแก้ไขเป็นเวลา 5 นาที กับคนอีกกลุ่มคิดถึงปัญหาเช่นกันแต่ใช้เวลาไปกับการสวดมนต์ขอพรเป็นเวลา 5 นาทีเท่ากัน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มคนที่สวดมนต์ขอพรสามารถจัดการอารมณ์ได้ดีกว่า โดยให้เหตุผลว่าการพรทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือกำลังแบบรับปัญหาอยู่ตัวคนเดียว ในทางตรงกันข้ามกลุ่มคนที่ไม่ได้ขอพรก็ไม่ได้เข้าใจหรือแก้ปัญหาได้ดีไปกว่าเดิม
จากสองปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้นจึงพอจะทำให้เข้าใจได้ว่าการมาถึงของปีใหม่เปรียบเสมือนกับสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาและส่งผลให้เกิดความกังวล ผู้คนจึงเลือกที่จะขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อป้องกันสิ่งที่คาดเดาไม่ได้และเป็นที่พึ่งให้กับจิตใจ แต่ในขณะเดียวกันยังสามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ทรัพยการเยอะ ผู้คนจึงเลือกที่จะขอพร และถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นการเผชิญกับปัญหาโดยตรงแต่การได้การได้มีที่พึ่งทางจิตใจและจัดการกับอารมณ์ ย่อมนำไปสู่กับการคิดแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น