Mind Analytica

ความสำคัญของทักษะทางสังคม

22 เมษายน 2567 - เวลาอ่าน 1 นาที
ความสำคัญของทักษะทางสังคม

งานวิจัยจาก Harvard ชี้เทรนด์ที่เติบโตขึ้นในตลาดแรงงานปี 1980 ถึงปี 2012

ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมเสนอว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นทำให้ตลาดแรงงานมีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้วเทคโนโลยีจะมาทดแทนงานที่ใช้ทักษะต่ำ ยกตัวอย่างอย่างง่าย ในสมัยศตวรรษที่ 17 จะมีอาชีพที่เรียกว่า “คอมพิวเตอร์” หรือนักคำนวณซึ่งเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยีก็ทำให้อาชีพนี้หายไป หรือยกตัวอย่างในสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ChatGPT หรือ generative AI ต่าง ๆ อาจทำให้อาชีพหลายอย่างสูญหายไป แต่ในทางตรงกันข้ามอาชีพที่เป็นผู้นำผลการคำนวณไปใช้งานต่อ อย่างเช่น การวิเคราะห์ การสื่อสารให้ผู้อื่นฟัง อาชีพเหล่านี้กลับไม่ได้หายไปตามกาลเวลา อาชีพเหล่านี้เป็นอาชีะที่อาศัยทักษะด้านผู้คน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือเรียกว่าทักษะทางสังคม (Social skills)

เมื่อกล่าวถึงทักษะทางสังคมแล้วทักษะที่อยู่ในกลุ่มนี้โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับทักษะทางปัญญา (Cognitive skills) หรือความสามารถทางสมอง ยกตัวอย่าง การทำงานเป็นทีม (Teamwork) ความร่วมมือ (Collaboration) การสื่อสารทางวาจา (Oral communication) ความฉลาดทางอารมณ์และสังคม (Emotional and social intelligence) ภาวะผู้นำ (Leadership) และทักษะเหล่านี้ยังได้รับการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในวัยผู้ใหญ่ที่สูง ในขณะที่ทักษะทางปัญญากลับไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่สูงนัก 

จากสิ่งที่เกิดขึ้นจึงนำมาสู่การสำรวจความเป็นไปได้ที่ทักษะทางสังคมจะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้บุคลากรประสบความสำเร็จในตลาดแรงงาน เทคโนโลยีอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงจากงานที่ใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคให้มีความเสี่ยงต่อการถูกแทนที่สูงมากขึ้น ในขณะที่อาชีพที่ต้องการทักษะทางสังคม ความร่วมมือ และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กลับมามีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

มีหลักฐานจากการศึกษาในปีค.ศ. 2017 โดย David J. Deming อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จาก Harvard University พบว่าความสำคัญของทักษะทางสังคมมีความสำคัญมากขึ้นในตลาดแรงงาน อย่างเช่น

การเปรียบเทียบในตลาดแรงงานในประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างปีค.ศ. 1980 และ 2012 อาชีพที่เน้นการใช้ทักษะทางสังคมมีตำแหน่งงานสูงขึ้นร้อยละ 11.8 นอกจากนี้ค่าแรงยังเติบโตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับตัวเลขแต่ใช้ทักษะทางสังคมต่ำกลับมีตำแหน่งงานลดลง

และจากการศึกษายังพบอีกว่าในปีค.ศ. 2012 การมีทักษะทางสังคมสามารถทำนายการมีงานประจำ อัตราการจ้างงาน ค่าแรง และอัตราการขึ้นค่าแรงได้อีกด้วย ในขณะที่อาชีพทางด้านตัวเลขกลับเป็นไปในทางตรงข้าม

ในมุมมองของบุคลากรในตลาดแรงงานแล้วการที่จะประสบความสำเร็จทางด้านการได้งานและค่าแรงแล้วการฝึกฝนทักษะทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญซึ่งสามารถเริ่มได้ตั้งแต่วัยเด็ก อย่างไรก็ตามในวัยทำงานยังเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนได้ผ่านการเทรนนิงหรือโค้ชชิ่ง

ในขณะเดียวกันผู้นำของบริษัทและองค์กรทั้งหลายล้วนต้องการให้บุคลากรของตนมีทักษะทางสังคมเพื่อให้เกิดสภาพแวล้อมการทำงานที่เอื้อต่อประสิทธิผลในการทำงาน การวัดและประเมินทักษะทางสังคมจึงเป็นสิ่งที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่การคัดเลือกบุคลากรเพื่อจ้างงานไปจนถึงการประเมินผลคอร์สเทรนนิงทักษะทางสังคมในท้ายที่สุดเช่นเดียวกัน

บทความต้นฉบับ

Deming, D. J. (2017). The growing importance of social skills in the labor market. The Quarterly Journal of Economics, 132(4), 1593-1640.

ผู้เขียน

MindAnalytica Team

MindAnalytica Team

เรื่องที่คุณอาจสนใจ