Mind Analytica

ภาพไม้ขีดไฟที่ดับแล้ว

21 สิงหาคม 2566 - เวลาอ่าน 1 นาที
ภาพไม้ขีดไฟที่ดับแล้ว

ช่วยบอกระดับภาวะ Burnout จากการทำงาน

เมื่อพูดถึงวิธีการวัดคุณสมบัติบางอย่างทางจิตวิทยาไม่ว่าจะเป็นการวัดเชาวน์ปัญญา บุคลิกภาพ ทัศนคติ รวมไปถึงการวัดระดับสุขภาพจิตที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน วิธีการสร้างข้อคำถามเหล่านี้มักจะมีหลายกข้อคำถามที่อยู่ในรูปประโยค อันเนื่องมาจากยิ่งมีข้อคำถามมากยิ่งมีความแม่นยำ และถ้าหากมีข้อใดที่ตอบไม่ตรงความจริงโดยสูงเกินไปหรือต่ำเกินไปยังมีข้อคำถามอื่นที่จะชดเชยส่วนที่ขาดหรือเกินไปได้

นอกจากนี้นักวิจัยมักจะใช้คำถามหลายข้อเพื่อให้มีช่วงของคะแนนที่รวมที่มากขึ้น เช่น คำถาม 3 ข้อมีคะแนนเต็มข้อละ 5 คะแนน จะทำให้มีผลรวมตั้งแต่ 0 ถึง 15 คะแนน ในขณะที่หากมีข้อเดียวคะแนนรวมจะมีช่วงคะแนนที่ 0 ถึง 5 คะแนนเท่านั้น ซึ่งแบบแรกจะมีความละเอียดที่มากกว่าและส่งผลต่อความแม่นยำที่มากกว่า

แต่ในปัจจุบันพบว่าการวัดด้วยข้อคำถามหลายข้อส่งผลให้ผู้ตอบเสียเวลาในการตอบคำถาม นักวิจัยด้านสุขภาวะทางจิตและการวัดและประเมินชื่อว่า Muir และคณะได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในปี 2565 โดยแสดงให้เห็นว่าการวัดด้วยข้อคำถามเดียวสามารถเป็นการวัดประเมินที่ดีได้หากออกแบบได้สร้างสรรค์ และผู้ตอบสามารถทำเข้าใจได้ง่าย เขาได้เสนอการวัดภาวะหมดไฟจากการทำงานด้วยข้อคำถามแบบรูปภาพดังนี้

โปรดเลือกไม้ขีดไฟที่แทนภาวะการหมดไฟที่คุณรู้สึกอยู่ในปัจจุบัน โดยเลือกภาพไม้ขีดไฟด้านล่าง

งานวิจัยนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าคะแนนสอดคล้องกับแบบสอบถามวัดภาวะหมดไฟด้วยรูปประโยคที่ถูกใช้ในงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะหมดไฟได้ดี นอกจากนี้คะแนนจากวิธีการตอบด้วยภาพยังสามารถทำนายตัวแปรผลจากภาวะหมดไฟได้สอดคล้องกับแบบวัดเดิมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ความพึงพอใจใจในงาน การขาดลามาสาย ความตั้งใจลาออก เป็นต้น 

งานวิจัยนี้ยังสามารถบอกได้ในภาพรวมว่ามีจากกลุ่มตัวอย่างรวม 739 คน มีกลุ่มตัวอย่างประมาณกี่คนที่เลือกรูปภาพไม้ขีดไฟแต่ละภาพ โดยมีค่าเฉลี่ย = 3.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.60 คะแนนระดับภาวะหมดไฟของกลุ่มตัวอย่างแสดงในรูปเปอร์เซ็นต์แสดงดังรายละเอียดด้านล่าง

ตัวเลขเปอร์เซ็นต์นี้สามารถช่วยให้ทดลองเปรียบเทียบได้ว่ามีผู้ตอบกี่เปอร์เซ็นต์ที่มีระดับภาวะหมดไฟในแต่ละระดับ

แบบวัดไม้ขีดไฟนี้เป็นแบบวัดที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ผู้ตอบสามารถได้ง่ายพร้อมทั้งมีคุณภาพมากเพียงพอในการประเมินบุคลากรหรือใช้ในการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลสามารถนำข้อคำถามแนวทางแบบนี้ไปใช้ในการวัดบุคลากรในองค์กรได้ และหากมีการวัดอย่างต่อเนื่องจะทำให้เข้าใจว่าบุคลากรในองค์กรมีสุขภาพจิตเป็นอย่างไรในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นหรือแย่ลงจากเดิม และมาตรวัดข้อเดียวแบบนี้จะลดภาระของพนักงานในองค์กรโดยไม่ต้องตอบแบบสำรวจที่ยาวมากเกินไป

ผู้เขียน

MindAnalytica Team

MindAnalytica Team

เรื่องที่คุณอาจสนใจ